2555-06-20


เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์ด้านการปรับตัวต่อภูมิอากาศในอนาคต
อ่านรายละเอียดโครงการได้ที่ ....
http://www.start.or.th/risk-and-vulnerability-of-national-development-sectors-on-climate/risk-and-vulnerability-of-national-development-sectors-on-climate

2554-11-18

หนึ่งโรคแพร่เชื้อโรค เมื่อน้ำท่วม

ในอนาคตปริมาณฝนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3% จากฝนที่มากขึ้นย่อมส่งให้เกิดน้ำท่วมและน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมืองที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
เชื้อโรคจำนวนมหาศาลจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากอุณหภูมิที่เหมาะสมและจากพื้นที่น้ำท่วมขัง โดยเฉพาะในแหล่งชุมชนที่หนาแน่นไปด้วยประชากร เราจะยกตัวอย่างหนึ่งของเชื้อโรคและโรคท้องร่วงเป็นแนวทางการศึกษาในพื้นที่เขตเมืองชายฝั่งภาคกลาง ข้อมูลได้ชี้ให้เราเห็นแนวโน้มสถานการณ์โรคท้องร่วงระบาดและผลกระทบที่เกิดขึ้นส่งผลต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม

ปัจจุบันเขตเมืองชายฝั่งภาคกลางมีปัญหาการระบาดของโรคท้องร่วงแบบเฉียบพลันที่มีอัตราการป่วยสูงและเป็นระยะเวลาต่อเนื่องในฤดูฝน คาดว่ามีสาเหตุมาจากการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่สะสมอยู่เป็นจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในน้ำ ประกอบกับจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นยิ่งทำให้เกิดปัญหาด้านขยะ แหล่งน้ำเน่าเสีย โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนแออัดหรือสลัม ซึ่งจะนำไปสู่การแพร่ระบาดของเชื้อโรคอย่างรวดเร็ว

2554-08-22

มรสุมสายฝน ฤดูกาลน้ำหลาก กับพื้นที่ทางเหนือ

มรสุมสายฝน ฤดูกาลน้ำหลาก กับพื้นที่ทางเหนือ
เมื่อฝนตกหนัก.. น้ำป่าไหลหลากทะลักเข้าบ้านเรือนชุมชนและที่ดินเกษตรกรรม ความเสียหายเป็นวงกว้าง นี่เป็นเพียงถ้อยประโยคที่เราได้ยินเสมอ ในวันนี้ปริมาณน้ำฝนได้สร้างความทุกข์ร้อนรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจัยเสี่ยงในปัจจุบันชี้ให้เราเตรียมพร้อมเพื่อรับมือในอนาคต
ภูมิประเทศเป็นภูสูงและที่ราบลุ่มคือลักษณะของภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง ซึ่งเชื่อมโยงถึงกันผ่านเส้นทางน้ำ โดยมีน้ำเป็นสิ่งที่มีปัจจัยเสี่ยงมากที่สุด ประกอบกับลักษณะสภาพอากาศที่ปรวนแปรในแต่ละครั้งย่อมส่งผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ต้นน้ำสายต่างๆ จำนวนมากจะกลายจุดเดินทางของเส้นทางน้ำท่วมจากปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าปกติ

2554-08-11

ปัญหาเมือง...เมื่อเสี่ยงต่อฝน เปราะบางในฤดูฝน

รูปแบบเมืองเป็นส่วนหนึ่งของสะท้อนถึงสิ่งเกิดขึ้นในอนาคต ผังเมืองจะเป็นส่วนสำคัญของการแก้ไขปัญหาและส่วนที่สร้างปัญหา นอกจากนี้ความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ สภาพอากาศที่แปรปรวน ไม่ว่าจะร้อน ฝน พายุ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนเมืองอย่างมาก การเตรียมรับมือทางโครงสร้างทางสาธารณูปโภคทุกอย่างภายในเมืองจึงเป็นเรื่องจำเป็นในอนาคต วันนี้สภาพอากาศที่ไม่เหมือนเดิม โครงสร้างผังเมืองที่เป็นปัญหา ล้วนทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่คาดคิดมาก่อน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่อาศัย ความหนาแน่นของประชากร และจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อการดำรงชีพและเป็นต้นเหตุของการแพร่ระบาดของเชื้อโรคบางชนิด

2554-07-24

ศูนย์ภูมิอากาศชุมชน เพื่อเตรียมรับมือสภาพอากาศแปรปรวน

สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลต่อการผลิตทางการเกษตรและผลกระทบที่ว่าหมายถึงความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการดำรงอยู่ หากจะเพิกเฉยกับเรื่องนี้อาจจะนำไปสู่ปัญหาใหญ่ที่กระทบไปทั่ว

การปรับตัวในด้านการเกษตรเพื่อรับมือจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้เริ่มต้นไปแล้วในบางประเทศและได้มีการพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อเหมาะสมกับสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้สามารถทำการผลิตได้ ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับความรุนแรงของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในเวลานี้
นอกจากการปรับตัวไปในแนวทางใหม่แล้ว การเฝ้าสังเกตการณ์สภาพอากาศจึงเป็นอีกหนทางในการรับมือในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง เราจำเป็นที่จะต้องใส่ใจกับเรื่องเหล่านี้มากขึ้น เพราะมันหมายถึงอนาคตของเรา
 

2554-06-30

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในอนาคต(ระยะ 50 ปี)

สภาพอากาศโดยทั่วไปในบริเวณชายฝั่งทะเลภาคกลางอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ(ช่วงฤดูหนาว) และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้(ช่วงฤดูฝน) มี 3 ฤดูกาล คือ ฤดูหนาว(ตุลาคม-กุมภาพันธ์) ฤดูร้อน(กุมภาพันธ์-พฤษภาคม)  ฤดูฝน(พฤษภาคม-ตุลาคม) มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 27.9องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24.5องศาเซลเซียส ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,200 มิลลิเมตร พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนผ่านพื้นที่ ส่วนใหญ่เกิดในทะเลจีนใต้และมีบางส่วนเกิดทางมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือด้านตะวันตก เคลื่อนตัวผ่านประเทศเวียดนามและประเทศลาวเข้ามายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 
หากมีกำลังแรงอาจเคลื่อนตัวเลยไปยังภาคเหนือหรือตรงมายังภาคกลาง  โดยจะเป็นพายุดีเปรสชั่นที่อ่อนกำลังลงจากพายุโซนร้อน มีความรุนแรงไม่มาก แต่ทำให้เกิดฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่ (คำนวณเฉลี่ยจากค่าปกติคาบ 30 ปี พ.ศ.2514-2543 ของกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี: กรมอุตุนิยมวิทยา,2554)สำหรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต(50 ปี) ทำการวิเคราะห์โดยใช้โมเดลการไหลเวียนของมวลอากาศโลก ECHAM4 และโมเดลภูมิอากาศระดับภูมิภาค PRECIS ภายใต้สมมติฐานการพัฒนาแบบ A2* ซึ่งพบว่าเมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2553 บริเวณพื้นที่ศึกษามีแนวโน้มอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น 0.6องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดมีค่าสูงขึ้น 1.6องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดมีค่าลดลง2.7องศาเซลเซียส ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 392มิลลิเมตร และความเร็วลมในพื้นที่เฉลี่ยทั้งปีเพิ่มขึ้น 1.6กม./ชม.

2554-06-07

เมืองคาร์บอนต่ำ แนวคิดมองการปรับตัวของเขตเมือง

แนวทางปรับตัวของเขตเมืองล่าสุด ได้ก้าวข้ามปัญหารถติดไปแล้ว  โดยมุ่งไปที่แนวทางของ Low-carbon City หรือเมืองคาร์บอนต่ำ .. แต่ไม่ใช่ว่าปัญหารถติดจะหายไปจากเมืองต่างๆ เพียงแต่ถูกนำมารวมในการปรับโฉมเมืองพร้อมกับการมองหาผลลัพธ์ด้านอื่นๆ ไปพร้อมกัน  
เมืองคาร์บอนต่ำ หมายความรวมถึงสภาพหน้าตาของเมือง  สภาพเศรษฐกิจ  สภาพสังคม รวมถึงบริบทของคนเมืองที่มีความรู้สึกนึกคิดและจิตวิญญาณที่ต้องการพาให้เมืองในปัจจุบันก้าวไปสู่ความสำเร็จด้วยวิถีการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ  แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำปรากฏขึ้นครั้งแรกในรายงานของกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2003 หัวข้อแหล่งพลังงานในอนาคต- เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Yang Wenyao, 2010: 10) กล่าวถึงการพัฒนาเศรษฐกิจที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

2554-05-17

กรุงเทพฯ..กับปัญหารถติดอีกครั้ง..ในมุมอากาศเปลี่ยนแปลง

ต่อเนื่องจากคราวที่แล้ว  การวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่าตัวแปรที่เด่นชัดคือ  การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ และปริมาณน้ำฝน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเขตเมืองในเรื่องสำคัญคือปัญหาน้ำท่วมขังและสภาพอากาศร้อนมากขึ้น  และต่อเนื่องไปถึงเรื่องการเดินทาง  เรื่องควันพิษ  ค่าครองชีพ ตลอดจนปัจจัยภายนอกที่ซ้ำเติมสภาพปัญหา เช่น  แผ่นดินทรุด  ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น  น้ำหลากจากตอนเหนือ การพัฒนาเมือง การเพิ่มของประชากรในเขตเมือง ฯลฯ

การรับมือกับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง  จึงมีประเด็นมากมาย  บางคนจึงเสนอเรื่องการปลูกต้นไม้ เพื่อลดสภาพอากาศร้อนในเขตเมืองและดูดซับมลพิษไปในตัว  บ้างก็มองไปเรื่องการสร้างประตูน้ำปิดอ่าวไทยตอนใน  เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลมาซ้ำเติมปัญหาน้ำท่วม   บ้างก็มองเรื่องพัฒนาระบบคมนาคมขนาดใหญ่  เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการเดินทางและขนส่งสินค้า

2554-05-04

มาร่วมกันเลือกนโยบาย..(ครั้งที่ ๑)

โครงการศึกษามาตรการลดผลกระทบจากภูมิอากาศในอนาคตของประเทศไทย  แบ่งกลุ่มศึกษา 4 กลุ่มตามประเด็นสำคัญ คือ ภาคเหนือ(ภัยพิบัติธรรมชาติ) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(น่าจะเป็นการจัดการน้ำลุ่มน้ำแม่โขง-ถ้าจำไม่ผิด) ภาคใต้(การพัฒนาโครงการโลจิสติกส์และอื่นๆ บริเวณชายฝั่งอันดามันตอนล่าง-สตูล)  และภาคกลาง (เขตเมืองชายฝั่งภาคกลาง) 

ผลการศึกษาทั้งหมดไม่ใช่การศึกษาใหม่ถอดด้ามเสียทีเดียว  แต่เป็นการศึกษาสรุปการพัฒนานโยบายและโครงการต่างๆ เพื่อรับมือกับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา  แล้วมาศึกษาบริบทในปีนี้อีกครั้งพร้อมนโยบายการพัฒนาในปัจจุบัน และวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในอนาคตอีกครั้ง  แล้วจึงจัดทำนโยบายที่เหมาะสมที่สุด(ภายใต้การหารือกับฝ่ายต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง)  ส่งมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติฯ ไปใช้ขับเคลื่อนงานต่อทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงตนเอง และกระทรวงอื่นๆ รวมถึงการดำเนินงานตามพันธกรณีในฐานะรัฐภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอัพเดตผลที่เกิดขึ้นจากการประชุมรัฐภาคีในทุกๆ ปีเฉพา ะส่วนที่ผมรับผิดชอบคือ เขตเมืองชายฝั่งภาคกลางซึ่งก็คือกรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้น  

2554-03-25

บทสัมภาษณ์ประเด็นสถานการณ์ภัยพิบัติ ผ่านมุมมอง ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

มติชนออนไลน์" สัมภาษณ์พิเศษ  ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) และผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัย และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Q:  หลังเกิดโศกนาฎกรรมสึนามิในญี่ปุ่น คนไทย วิตกกังวลเรื่องภัยพิบัติกันมาก รู้สึกว่า เป็นภัยใกล้ตัวเข้ามาทุกที
A:   เวลาเกิดภัยพิบัติ ความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมวลชน ชีวิต ทรัพย์สิน หรือมูลค่าทางเศรษฐกิจต่างๆ นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของภัย แผ่นดินไหวขนาดเท่ากัน น้ำท่วมขนาดเท่ากัน หรือสึนามิขนาดเท่ากัน ไม่ได้หมายความว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเท่ากัน  ขนาดของภัยต้นทางอาจจะมีผลแค่ 20-30 %  ส่วนอีก 60-70% อยู่ที่ความพร้อมในการรับมือ   ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้เสียชีวิตไปเกือบหมื่น แต่ถ้ากรุงเทพฯไปตั้งอยู่ตรงนั้นอาจจะตายเป็นล้านก็ได้

2554-03-17

อนาคตพื้นที่ชายฝั่ง ปัญหาการเปลี่ยนแปลง

พื้นที่ราบชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจสังคมการเมืองที่สำคัญที่สุดของประเทศนั้นเป็นพื้นที่ที่เกิดขึ้นใหม่ คือส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 10,000 ปี โดยกระบวนการสะสมตัวของตะกอนจากทะเลและจากแม่น้ำภายใต้ภูมิอากาศ ลักษณะทางอุทกวิทยา สมุทรศาสตร์และระบบนิเวศที่เหมาะสม
แต่ชั้นตะกอนตังกล่าวนี้ยังไม่มีวิวัฒนาการทางธรณีวิทยาที่ยาวนานเพียงพอที่จะทำให้เกิดเสถียรภาพและทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นชั้นตะกอนระดับตื้นเหล่านี้จึงมีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วเมื่อสมดุลย์ระหว่างปัจจัยควบคุมต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป เตรียมการเพื่อรับมือกับความเสี่ยง ความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

2554-03-15

ระบบกระจายข้อมูลการคาดการณ์สภาพอากาศในอนาคต

ระบบบริการข้อมูลการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศอนาคตสำหรับพื้นที่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ระบบนี้เป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัย และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และบริษัทอีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด โดยการสนับสนุนของสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว.) และ Asia- Pacific Network for Global Change Research (APN)

2554-02-22

กรณีศึกษาทางการรับมือในอนาคตของชุมชนเกษตรกรรมชายฝั่ง บ้านคลองประสงค์

บ้านเกาะกลาง ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ประสบกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและต้องเผชิญกับปัญหาน้ำทะเลหนุน ซึ่งสภาพพื้นที่โดยส่วนใหญ่จะทำเกษตรกรรมโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าว ซึ่งปัญหาจากน้ำทะเลหนุนยังคงเป็นปัญหาหลักของการปลูกข้าวที่นี่ โดยชาวบ้านตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ปัญหานี้นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

ด้วยเหตุนี้ทางประธานกลุ่มชาวนาบ้านเกาะกลางจึงได้ทดลองสร้างคันดินขนาดเล็กในที่นาของตนเอง เพื่อเป็นการทดลองกั้นน้ำเค็มและพบว่าได้ผลดี ต่อมาจึงได้เสนอโครงการคันดินกั้นน้ำขึ้นอย่างจริงจัง ซึ่งประกอบด้วยแนวคันดินกั้นน้ำสำหรับพื้นที่นาข้าวในหมู่ที่ 1 รวมระยะทางประมาณ 6.7 กม

2554-02-21

บทสรุปภูมิอากาศในอนาคตที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ

ภูมิอากาศของประเทศไทยในช่วงทศวรรษ 2570
การคาดการณ์ภูมิอากาศของประเทศไทยตามแนวทางการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกแบบ A2 และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระดับโลกโดยใช้แบบจำลอง ECHAM4 พบว่าอุณหภูมิสูงสุดของประเทศในช่วง 20-30 ปีในอนาคตจะเพิ่มขึ้นเกือบทั้งประเทศ โดยพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้จะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือประมาณ 1-2 องศาเซลเซียสจากปัจจุบัน

สำหรับปริมาณฝนจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างค่อนข้างชัดเจนเฉพาะในพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่น่าจะมีกำลังแรงขึ้นกว่าในปัจจุบัน ซึ่งใด้แก่ พื้นที่ภาคใต้ตอนล่างและชายฝั่งอ่าวไทยด้านตะวันออกบริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราด พื้นที่เหล่านี้ในปัจจุบันก็เป็นพื้นที่ที่มีฝนมากอยู่แล้ว ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น การเปลี่ยนแปลงของฝนอันเนื่องมาจากลมมรสุมจะมีทิศทางที่อาจจะลดลงเล็กน้อย  เนื่องจากการกระบวนการเกิดฝนเนื่องมาจากการยกตัวของมวลอากาศบริเวณชายฝั่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงทำให้ความชื้นในอากาศถูกสกัดออกมาจากมวลอากาศมากขึ้นและเหลือผ่านเข้าไปในแผ่นดินตอนในน้อยลง ซึ่งเมื่อประกอบกับจำนวนพายุหมุนเขตร้อนที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน จึงน่าที่จะทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ห่างไกลจากทะเลของประเทศไทยมีปริมาณน้ำต้นทุนที่ลดลง
ลมมรสุมที่มีกำลังแรงขึ้นจะทำให้ระดับน้ำบริเวณชายฝั่งมีความแปรปรวนตามฤดูกาลเพิ่มมากขึ้นกว่าการเพิ่มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ย เนื่องมาจากปริมาตรน้ำในมหาสมุทรโลกแต่เพียงลำพัง ดังนั้นผลกระทบจากระดับน้ำทะเลในช่วงที่ลมมรสุมพัดเข้าหาชายฝั่งจึงจะมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการกัดเซาะชายฝั่งและการรุกของน้ำเค็มเข้าไปในแหล่งน้ำจืดบริเวณชายฝั่ง

2554-02-20

วิสัยทัศน์การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยในบริบทของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ


พื้นที่ที่มีความเสี่ยงและเปราะบางของประเทศไทย คือ พื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยรูปตัว ก  ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บริเวณจังหวัดกรุงเทพมหานคร เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี โดยพื้นที่ดังกล่าว ถือเป็นพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ มากมายและเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ อาทิ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม โรงงาน การประมง การท่องเที่ยว โดยข้อมูลจาก สศช. ในปี 2551 แสดงว่า มูลค่ารวมทางเศรษฐกิจของพื้นที่ดังกล่าวคิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP)  ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การทรุดตัวของแผ่นดิน  การเปลี่ยนแปลงของมรสุม และน้ำท่วม ซึ่งหากไม่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทางการพัฒนา และดำเนินการเพื่อรับมือในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเหมาะสมแล้ว จะยิ่งส่งผลให้ความเสียหายรุนแรงมากยิ่งขึ้น